ผู้ช่วยศาสตราจารย์อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเป็นผู้อำนวยเพลงวง CRRU Brass Project ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการแสดงดนตรีของนักเรียนในขณะเดียวกันก็สร้างวินัยและความรับผิดชอบที่ดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาดนตรีตะวันตกจากภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำเร็จการระดับปริญญาโทสาขาดนตรี จากวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เขาศึกษาทรอมโบนกับ Dr. Sean scot reed, อรุณกร ชัยสุบรรณกนก, สิทธิชัย อ่องสะอาด และสรพจน์ วรแสง และได้มาสเตอร์คลาสร่วมกับ Eric Lee, Mayumi Shimizu, Ronald Barron, Branimir Slokar, Dr. Tom Branley, Dr. Denson Paul Pollard และ Dirk Amrein. อดิวัชร์ได้มีโอกาสศึกษาการอำนวยเพลงจาก ดร.นิพัต กาญจนะหุต ดร.วานิช โปตะวานิช และสุรพล ธัญญวิบูลย์ อีกทั้งได้เรียนมาสเตอร์คลาสกับ Prof. Dennis W. Fisher, Prof. Eugene M. Corporon, Dr. Andrew Trachsel, Dr. Amy Woody, Jonathan Mann และได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการมากมาย เช่น Thailand band director seminar 2016, Japan band clinic 2019, Midwest international band and orchestra conference 2022, Texas Bandmaster Association 2023 and UNT Conductor Collegium 2024. เขาได้รับเชิญเป็นวิทยากรมากมายทั้งในภาคเหนือและภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการบรรเลงวงดุริยางค์เครื่องลมของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ เขายังเขียนบทความและงานวิจัยเกี่ยวกับวงดุริยางค์เครื่องลมและวง Flexible ensemble ดังนี้ – อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2561,กรกฎาคม – ธันวาคม). ภูมิปัญญาทางด้านดนตรีกับการสืบทอดและการอนุรักษ์ของ 7 กลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารดนตรีรังสิต. (2). – อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2561). การสร้างสรรค์ผลงานจากอัตลักษณ์ทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. บทความวิชาการนำเสนอการประชุมระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2561. วันที่ 22 มิถุนายน 2561, มหาวิทยาลัยศิลปากร. – อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2561, ตุลาคม-ธันวาคม). การเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเพื่อการสร้างสรรค์บทเพลงฝึกพื้นฐานสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมจากบทเพลงพื้นเมืองล้านนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (ฉบับพิเศษ). – อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2562, กรกฎาคม – ธันวาคม). การศึกษาทำนองของเพลงพื้นเมืองล้านนาที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์ บทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลมในจังหวัดเชียงราย. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. (2) – อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2564, มกราคม – มิถุนายน). ความสัมพันธ์ของทฤษฎี “4 In” กับวงดุริยางค์เครื่องลม ตามแนวคิดของคอร์โปรอน. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. (1) – ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล อภิวุฒิ มินาลัย และไกรสร จุฬาทิพย์.(2565, กรกฎาคม – ธันวาคม). ถอดบทเรียนจากสถานการณ์โควิด-19 สู่แนวทางปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกซ้อมของวงดุริยางค์เครื่องลมในสถานศึกษา. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. (2) – ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล นิพัต กาญจนะหุต และภูษิต สุวรรณมณี. (2566, มกราคม – มิถุนายน). แนวคิดการฝึกซ้อมวงเครื่องลมตามแนวทางของอัทสุชิ ยามาชิตะ โอซาวา. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. (1) – อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2566,กรกฎาคม – ธันวาคม). “ล้านนาสวีท”สำหรับวงเฟล็กซิเบิล – อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล และนิพัต กาญจนะหุต. (2567,มกราคม – มิถุนายน). พัฒนาการของเฟล็กซิเบิลอองซอมเบิลในประเทศไทย. วารสารดนตรีรังสิต. (1). ผลงานด้านการเรียบเรียงและประพันธ์เพลง – “คะนึงหาล้านนา” Chorale from Lanna Folk Songs – Lanna Suite for Flexible Ensemble 6 Parts and 3 Optional Percussion Parts – มาร์ชนกยูงป่าแดด – Kudi Chin Suite for Flexible Ensemble: Journey to Kudi Chin / Mei Hua Steps / Bells from Santa Cruz
อองซอมเบิล. วารสารดนตรีรังสิต. (2).